ผู้ที่ผ่าตัดเอ็นไขว้หน้ายังเล่นบอลได้หรือไม่


เซียนบอลว่า หลังผ่าเอ็นไขว้หน้า นักเตะจะฟอร์มตก..จริงหรือไม่ ⚽
เรามาฟังคุณหมอใหม่ (ผศ.นพ. ระพีพัฒน์ นาคบุญนำ) กันดีกว่า

ตอบทุกปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า #ศัลย์ฯสร้างข้อตอบปัญหา
#เข่าบิด #ฟุตบอลโลก2018 #ฟุตบอล #มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต #ข้อเข่าเสื่อม

กดไลค์ – กดติดตาม -กดเห็นโพสต์ก่อน .. เพื่อตามติดความรู้เรื่องการรักษาข้อดีจากทีมแพทย์ ที่นี่ มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต

ข้อเข่าเทียมหมดอายุ

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมที่เราใช้กัน สามารถใช้ได้นานเท่าไหร่ จะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังครับ ?‍⚕️ ?‍⚕️ ?
.
คำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้ป่วยชอบถามหมอบ่อยๆว่า
หลังผ่าตัดไปแล้วจะใช้งานได้นานเท่าไหร่ มีอายุการใช้งานเท่าไหร่
.
หมอขอตอบแบบนี้ครับ ข้อเทียมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมากทั้งวัสดุและรูปแบบของข้อเทียมทำให้สามารถใช้งานได้นานมากขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้การศึกษาวิจัยจากต่างประเทศหลายงานวิจัยระบุตรงกันว่า มากกว่าร้อยละ90ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถใช้งานได้นานมากกว่า10ปีโดยที่ยังไม่ต้องผ่าตัดแก้ไข ทั้งนี้อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิเช่น อายุ โรคประจำตัว น้ำหนัก ลักษณะการใช้งาน โดยที่อายุเป็นปัจจัยที่สำคัญ หากเราผ่าตัดตั้งแต่อายุน้อย มีการใช้งานข้อเข่ามาก ยิ่งมีโอกาสที่จะต้องมาทำการผ่าตัดแก้ไขในอนาคตมากขึ้น ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำวิธีรักษาโดยการไม่ผ่าตัดก่อน จนกระทั่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดจึงแนะนำรักษาโดยการผ่าตัด ก็จะช่วยยืดระยะเวลาการผ่าตัดออกไปได้อีก
ภายหลังการผ่าตัดไปแล้วหากเราต้องการให้ข้อเข่าเทียมที่ผ่าตัดไป สามารถใช้ ได้ยาวนานก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ระวังการบาดเจ็บและติดเชื้อ ใช้งานข้อเข่าเทียมนั้นตามสมควร หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักเกินไป จะสามารถทำให้ข้อเทียมนั้นอยู่กับเราไปอีกนานตลอดชีวิต จนไม่ต้องมาผ่าตัดแก้ไขในภายหลัง
.
สรุปนะครับ ข้อเข่าเทียมไม่มีหมดอายุ แต่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน การดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ข้อเข่าเทียมนั้นก็จะอยู่กับเราไปอีกนานอย่างแน่นอนครับ

#มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต #ข้อเข่าเทียม #ทราบแล้วแชร์

เข่าบิดจากการเล่นบอลต้องผ่าตัดหรือไม่


อยากเล่นฟุตบอลนานๆ ⚽ ไม่อยากแขวนสตั๊ด
ฟังคุณหมอใหม่ (ผศ.นพ. ระพีพัฒน์ นาคบุญนำ) เล่าวิธีป้องกันการบาดเจ็บที่หัวเข่าสำหรับนักเตะ

ตอบทุกปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า #ศัลย์ฯสร้างข้อตอบปัญหา
#เข่าบิด #ฟุตบอลโลก2018 #ฟุตบอล #มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต #ข้อเข่าเสื่อม

กดไลค์ – กดติดตาม -กดเห็นโพสต์ก่อน .. เพื่อตามติดความรู้เรื่องการรักษาข้อดีจากทีมแพทย์ ที่นี่ มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต

สูงวัย แต่อยากใส่ใจสุขภาพ ทำไง?

สวัสดีครับ ช่วงนี้เทศกาลบอลโลก⚽️?? . คาดว่ากิจกรรมการออกกำลังกาย โดยเฉพาะกระแสฟุตบอลคงจะติดอันดับเรื่องราวต้นๆ ที่จะพูดคุยกันในทุกเช้าในสภากาแฟช่วงนี้ นำไปสู่การอยากออกกำลังกาย สร้างเสริมสุขภาพ หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง . คำถามว่าผู้สูงอายุถ้าจะออกกำลังกาย จะยังสามารถทำได้อยู่หรือไม่ เนื่องจากบางคนเกิดความกังวลว่า ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนตอนสมัยหนุ่มสาว เมื่อสูงอายุแล้วเข้าใจว่าควรจะอยู่เฉยๆดีกว่าไหม จะได้ไม่ต้องไปเสี่ยงล้มบาดเจ็บเดี๋ยวเป็นภาระลูกหลานอีก? . . วันนี้หมอจะขอมาให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายในผู้สูงอายุครับ . การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนแล้ว ระดับงานวิจัยว่าเกิดประโยชน์ และสามารถลดโรคที่เกิดจากความชราเสื่อมถอยได้จริง เป็นประโยชน์ต่อระบบความดันและหลอดเลือด รวมไปถึงการทำงานของระบบหายใจปอด การออกกำลังกายที่ถูกต้องยังช่วยในเรื่องสมดุลการทรงตัว ทำให้การเดินเหินก็คล่องแคล่ว การที่มีแรงผ่านกระดูกสม่ำเสมอ จะทำให้กระดูกแข็งแรงและ ลดโอกาสที่จะหกล้มแล้วกระดูกหักได้อีก . ดังนั้นถ้าถามเรื่องประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ตอบได้ 100% เลยว่า มีประโยชน์มากกว่าการไม่ออกกำลังกายแน่นอน แต่ว่า… เรื่องของชนิดการออกกำลังกาย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละราย ขึ้นกับสภาพความแข็งแรงของแต่ละบุคคลด้วย ผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย ควรได้รับการประเมินจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลอยู่ประจำก่อนจะออกกำลังกาย . หลักการในการออกกำลังกายโดยทั่วไปในผู้สูงอายุ มีวิธีสังเกตง่ายๆ ระหว่างที่ออกกำลังกาย 1) ชนิดที่ใช้กำลังระดับปานกลาง โดยที่สังเกต ได้จากลักษณะการหายใจ จะหายใจแรงขึ้น แต่ยังจะพอสามารถพูดคุยได้จบประโยค…

5 ท่าบริหาร หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

สวัสดีครับ ช่วงนี้เทศกาลบอลโลก คาดว่ากิจกรรมการออกกำลังกาย โดยเฉพาะกระแสฟุตบอลคงจะติดอันดับเรื่องราวต้นๆ ที่จะพูดคุยกันในทุกเช้าในสภากาแฟช่วงนี้ นำไปสู่การอยากออกกำลังกาย สร้างเสริมสุขภาพ หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง บทความก่อนหน้านี้ หมอได้ให้ข้อมูลรายละเอียดเรื่องการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยทั่วไป ไปแล้ว คราวนี้สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมละ? (ข้อแนะนำต่อไปนี้อ้างอิงมาจาก AAOS ซึ่งเป็นองค์กรที่มีมาตรฐานสูงมากของหมอกระดูกในประเทศอเมริกา)

วันที่ฉันเดินได้น้อยลง

‘’จากวันที่ฉันเดินได้ดี สู่วันที่ฉันเดินได้น้อยลง จนถึงวันที่ฉันเดินไม่ได้เพราะอาการปวดเข่า ข้อเข่าเทียมจะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตได้อย่างไร วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังครับ’’ ทุกๆวัน ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูกและข้อ หมอพบเจอกับผู้ป่วยมากมายที่มาปรึกษาเรื่องอาการปวดเข่า แต่ละคนมีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน มีแนวทางการรักษาแตกต่างกันไป ผู้สูงอายุหลายคนปวดมากจนทนไม่ไหว เข่าบิดเข่าผิดรูป ไม่สามารถเดินหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นภาระต่อลูกหลานที่ต้องดูแล บางคนเกิดภาวะซึมเศร้าเพราะไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ครอบครัวใดที่มีปัญหาเหล่านี้หมอแนะนำให้มาพบแพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อนะครับ เพราะปัจจุบันเรามีวิธีการรักษาอาการปวดข้อเข่ามากมายซึ่งได้ผลดี และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยครับ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากเวลายืน, เดิน งอเหยียดหรือลงน้ำหนักที่ข้อเข่า ได้รับการรักษาด้วยยากินหรือยาฉีดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น มีการผิดรูปของข้อเข่า ไม่สามารถยืนเดินได้เป็นปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีอาการมานานหลายเดือนหลายปี ผ่านการรักษามาหลายวิธี แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จึงแนะนำวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมนั้นเป็นการแก้ไขความผิดปกติข้อเข่า โดยการผ่าตัดเอากระดูกผิวข้อเข่าส่วนที่เสียออก แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งประกอบไปด้วยโลหะผสม titanium หรือ cobalt chromium base alloys ส่วนผิวสัมผัสรอยต่อระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง จะใช้พลาสติกคุณภาพสูง(Ultra high molecular weight polyethylene) ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ราบลื่น ในผู้ป่วยที่มีการผิดรูปของข้อเข่ามาก ระหว่างผ่าตัดศัลยแพทย์จะทำการตัดแต่งแนวกระดูกให้กลับมาอยู่ในแนวปกติและปรับความตึงของเนื้อเยื่อรอบๆข้อเข่าให้สมดุลอีกด้วย ทำให้ภายหลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้เป็นปกติ ไม่ปวดเวลาเดิน และมีแนวของกระดูกขาและข้อเข่าที่เป็นปกติมากขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เป็นภาระของลูกหลาน หรือคนใกล้ชิดที่ต้องดูแล…

เปลี่ยนครึ่งข้อ ก็เติมเต็มชีวิตได้

“คุณแม่ไปหาคุณหมอมา คุณหมอบอกว่าคุณแม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเพียงครึ่งข้อ ดิฉันก็ถามคุณแม่ว่าเปลี่ยนเพียงครึ่งข้อคืออะไร ทำไมไม่เปลี่ยนทั้งข้อ แบบนี้อาการจะหายหรือไม่” ความไม่เข้าใจเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเสมอ หรือจะได้ยินการเปลี่ยนข้อเทียมเพียงครึ่งข้อในครั้งแรก วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะได้รวบรวมคำถามจากผู้ป่วยและญาติที่มักจะถามคุณหมอตั้งแต่ก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัด . การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบครึ่งข้อ ต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมในแบบปกติอย่างไร? การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบครึ่งข้อ คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อของฝั่งกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง แต่เปลี่ยนเฉพาะด้านที่มีปัญหา ด้านในหรือด้านนอกเท่านั้น . การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบครึ่งข้อ มีข้อดีกว่าแบบเต็มข้ออย่างไร? การผ่าตัดแบบครึ่งข้อ จะผ่าตัดน้อยกว่าการเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่สึกเท่านั้น ทำให้แผลเล็กกว่า บาดเจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า รวมไปถึงเสียเลือดน้อยกว่า ในผู้ป่วยบางท่านสามารถกลับบ้านได้ในวันที่ผ่าตัด . ผู้ป่วยทุกคนสามารถเลือกที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแบบครึ่งข้อได้หรือไม่? คุณหมอผ่าตัด จะเป็นผู้เสนอทางเลือกผ่าตัดแบบครึ่งข้อ ในเฉพาะกลุ่มที่มีอาการเฉพาะจุดในเข่า แต่ผู้ป่วยเองก็สามารถเลือกเป็นการผ่าตัดแบบเต็มข้อได้เหมือนกัน . ไม่มั่นใจว่า ผ่าตัดแบบครึ่งข้อจะทำให้หายปวดหรือไม่ เพราะหลายๆคนบอกว่าจะไม่หายปวด? การที่คุณหมอจะเลือกผ่าตัดเปลี่ยนแบบครึ่งข้อให้ผู้ป่วยได้นั้น จะต้องประเมินจากข้อบ่งชี้ ทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย และผลเอ๊กซเรย์ รวมถึงการผ่าเข้าไปดูว่ามีความผิดปกติแต่เพียงซึกเดียวเท่านั้น ถ้าในห้องผ่าเห็นว่ามีความเสื่อม หรือรอยแผลข้ออีกฝั่งหนึ่ง ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนข้อเทียมแบบเต็มข้อ ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ จึงอยากให้มั่นใจว่าหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฝ่าตัดแล้ว ได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน . หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนกับผ่าตัดแบบเต็มข้อหรือไม่? สามารถทำกิจกรรมได้ ไม่ต่างกัน…

ยาชุดสุดหลอน กินง่าย หายเร็ว

ยาชุดสุดหลอน กินง่าย หายเร็ว จนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ผลที่ออกมา ถึงชีวิต! “ยาชุด … ไม่ดีอย่างไร? (ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจ เพจนี้จะมีข้อมูลที่ประโยชน์ต่อคนใกล้ตัวที่คุณรักแน่นอน) สัปดาห์ที่แล้ว เจอผู้ป่วยเดินมาหาพร้อมกับบอกว่า “หมอๆ อย่าลืมสั่งยาชุดด้วยนะ” แล้วเอาซองวางตรงหน้า ถามคนไข้ว่า ไปเอามาจากไหน คนไข้บอก “คนในหมู่บ้าน เค้าจัดทำเป็นชุดๆ ขาย กินดีมาก กินแล้วหายเลยบอกต่อๆ กัน เนี่ยฉันก็ไปซื้อมา แปดสิบบาทเองทั้งซองเนี่ย” ในฐานะหมอ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก หน้าชา เหมือนถูกตบหน้า แต่ฐานะแพทย์ก็ยิ้มๆ ค่อยๆ เรียบเรียงชี้แจงให้คนไข้เข้าใจด้วยความเห็นใจ (ในความเชื่อผิดๆที่ฝังหัวมา) ก่อนที่คนได้จะกลับไปด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องหลังจากแนะนำ วันนี้ขอพูดเรื่องยาชุดละกัน ยาชุด – เป็นคำเรียกติดปากของชาวบ้านสมัยก่อน ลักษณะจะใส่ยามาเป็นซองในชุดเดียวกันพร้อมกันทั้งชุด แถมคำบอกต่อมาว่ารับรองหาย มักจะได้มาจากหมอยาหรือหมอตี๋แถวบ้าน (จริงๆ ไม่ควรนะครับ อย่างน้อยการรับยาหรือจ่ายยา ควรรับการดูแลภายใต้เภสัชกรแผนปัจจุบันที่มีใบรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) ข้อดีของยาชุด คือ….ใช้ง่าย กินเข้าไปทั้งชุด ส่วนข้อเสียนั้น เยอะมากจนไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ที่หมอกลัวสุด คือ…

คิดก่อนซื้อ! สารตั้งต้นผลิตยาชุด พบอันตรายเพียบ

คิดก่อนซื้อ! #สารตั้งต้นผลิตยาชุด พบอันตรายเพียบ “มาพูดถึงอันตรายของยาชุดต่อจากบทความก่อนนะครับ ยาชุดนั้นอันตรายมาก เนื่องจากยาที่หมอต่างๆ ที่ว่ามาก่อนหน้านี้จัดมาให้พวกเรา ตาสีตาสา ประชาชนที่ไม่อยากจะเสียเวลามารอตรวจที่โรงพยาบาล ไม่ว่าจะรัฐหรือเอกชน ยิ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐ ยิ่งรอนานมาก คนไข้เยอะมาก แล้วก็ขี้เกียจเข้าร้านยาที่มีเภสัชกรอยู่ประจำ เพราะบางร้านก็คนไข้เยอะเช่นกัน จึงไปหายาชุด ยาผีบอก มาทาน ซึ่งก็ไม่รู้ว่ายาแต่ละเม็ดที่ หมอๆ เหล่านั้นจัดมาให้ ประกอบด้วยยาอะไรบ้าง แต่ที่มักจะเจอกันบ่อยๆ ก็เหมือนกับโพสที่แล้วที่กล่าวไปก็คือ ยาสเตียรอยด์ หรือยาครอบจักรวาล ซึ่งข้อดีก็มี แต่ข้อเสียนั้นมากกว่าถ้าหากใช้ยาไม่ถูกวิธี โพสนี้จะมาบอกถึงยาอีกตัวที่มักจะเจอในยาชุดเช่นเดียวกันกับสเตียรอยด์ เรียกได้ว่า มาเป็นคู่ มาเป็นแพ็คเกจ ยาที่ว่าคือยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า #NSAIDs (อ่านว่า เอ็น-เสด) ยา NSAIDs จริงๆแล้วเป็นยาดี มีประโยชน์อย่างมาก ช่วยในการรักษา อาการอักเสบต่างๆ (อาการอักเสบกับอาการติดเชื้อนี่ไม่เหมือนกันนะ คนทั่วไปมักคิดว่าการอักเสบกับการติดเชื้อเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ) ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดตามกล้ามเนื้อจากกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ปวดหัว ปวดท้อง ปวดจากบาดแผล ปวดสารพัดปวด แต่ว่ายากลุ่ม NSAIDs นั้นมีหลายประเภท…

ปวดเข่า แปลว่าข้อเข่าเสื่อม จริงเหรอ?

วันนี้เรามีสาระน่ารู้สั้นๆ 3 ข้อ มาแบ่งปัน ? 1. “ปวดเข่า อาจไม่ใช่ข้อเข่าเสื่อม” – เพราะ เข่า มีโครงสร้างที่ซับซ้อนหลายอย่าง แบ่งง่ายๆเป็นโครงสร้างในข้อเข่า(เช่น ผิวข้อเข่า หมอนรองกระดูก เอ็นไขว้หน้า ฯลฯ) และโครงสร้างนอกข้อเข่า(เช่นเอ็นเข่าด้านนอก เอ็นเข่าด้านใน จุดเกาะกล้ามเนื้อต่างๆ หรืออาการปวดเสียวเข่าที่มีสาเหตุจากสะโพก ฯลฯ ) 2. ข้อเข่าเสื่อม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Osteoarthritic knee เป็นโรคของความเสื่อมสภาพที่เกิดกับกระดูกอ่อนของข้อเข่า (knee articular cartilage) สาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น ? (มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป) เซลลต่างๆในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง ผิวข้อก็มีการเสื่อมสภาพตามไปเช่นกัน ประกอบกับผิวข้อผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนผิวข้อนั้นได้รับแรงซ้ำๆจนเกิดความเสื่อมของผิวข้อกระดูกอ่อนของข้อเข่า อาการแสดงที่พบได้มีหลายรูปแบบ แต่ส่วนมากที่พบคือ “ปวดเข่าแต่เข่าไม่อุ่นร้อน” อาจมีข้อฝืดยึดติดในตอนเช้า, มีเสียงกรอบแกรบ, กดเจ็บของกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าโก่ง ผิดรูป ตรวจพบการขยายกว้างขึ้นของกระดูกข้อเข่า การวินิจฉัยอาจใช้การส่งตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวินิจฉัย เช่นภาพถ่ายรังสี (ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ตรวจ) 3. “เข่าที่ปวดบวม…

เกิดอะไรกับข้อเข่า เมื่อเรานั่งพับเพียบ

?สวัสดีปีใหม่ไทย? ด้วยความรู้รักษาข้อจากคุณหมอ ?‍⚕️ถึงออเจ้าส.ว.ทั้งหลาย ?? ที่ชอบนั่งพับเพียบฟังธรรมและกังวลว่าจะมีผลกับข้อเข่า?

คุณหมอ – การนั่งพับเพียบ เป็นลักษณะท่าทางการใช้เข่าในชีวิตประจำวันที่คู่กับคนไทยมานาน ท่าทางของเข่าคือทำงานในการงอเข่าในองศาที่มากกว่าฉากหรือเก้าสิบองศา ร่วมกับมีการบิดหมุนออกนอกร่วมด้วย

ถ้าถามว่ามีผลกับข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ คำตอบคงต้องเป็นว่า “ขึ้นอยู่กับสภาพของข้อเข่าของแต่ละบุคคล”

หากท่านมีข้อเข่าเสื่อมอยู่แล้ว การนั่งพับเพียบเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างมาก ?‍♀️ เพราะการนั่งพับเพียบ จะเป็นการเพิ่มแรงกดต่อข้อเข่าและข้อลูกสะบ้าของเข่าซึ่งจะทำให้ผิวข้อเข่าที่เสื่อมนั้น เกิดการถูกกดด้วยแรงที่มากกว่าปกติ ทำให้ผิวข้อเข่าที่เสื่อมแล้วเกิดการบาดเจ็บมากขึ้น และจะแสดงอาการปวดให้เห็น ?

ในทางกลับกันแต่ถ้าหากท่านมีข้อเข่าที่มีสุขภาพดี ไม่มีอาการปวด ร่วมกับมีความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อรอบๆข้อเข่าที่อยู่ในระดับปกติแล้ว การที่ออเจ้านั่งพับเพียบนั้น จะไม่เกิดผลให้เกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมครับ ?‍?

ร่วม Like>Follow>See First เพื่อตามติดกิจกรรมต่างๆ และติดตามความรู้เรื่องการรักษาข้อดีจากทีมแพทย์ ที่นี่ มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อต่อชีวิต #ทราบแล้วแชร์