1. การออกกำลังกาย (Exercise and physical activity)
แนะนำ low impact aerobic exercise
ได้แก่ การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการบริหารพิสัยข้อต่อร่วมการมีแรงต้าน (โดยหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวด และมีแรงกระแทกต่อข้อเข่า)
นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณข้อเข่า และเพิ่มน้ำไขข้ออีกด้วย
มีหลายหลักฐานทางงานวิจัยว่า การออกกำลังกายช่วยลดอาการปวดเข่า และช่วยให้การใช้งานข้อเข่าดีขึ้น
2. อาหารและการลดน้ำหนัก (Diet and weight loss)
มีหลักฐานทางงานวิจัยว่า น้ำหนักตัวที่ลดลง 1 กิโลกรัมลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 4 กิโลกรัมต่อ 1 ก้าวเดิน
การลดน้ำหนัก ควรเน้นไปที่ลักษณะอาหารที่กินในแต่ละวัน โดยควบคุมปริมาณแคลอรี่ต่อวัน มีสัดส่วนของไขมัน และน้ำตาลอย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป
การลดน้ำหนักให้ได้ผลดี
ควรมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการติดตามผลของการลดน้ำหนักด้วยตนเอง (self-monitoring)
3. กายภาพบำบัด (Physical therapy)
ในยุคปัจจุบัน ผู้ป่วยสามารถหาวิดีโอแนะนำวิธีการกายภาพบำบัดด้วยตนเองที่บ้านได้จากสื่อต่างๆ เช่น
https://www.youtube.com/watch?v=_esJJrLY_IA
การประคบร้อนหรือประคบเย็น ถึงแม้ว่าหลักฐานทางงานวิจัยจะยังจำกัด แต่ก็สามารถเตรียมได้ง่าย เพื่อช่วยลดอาการปวด
การประคบร้อน โดยใช้ถุงร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่น
ประคบร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อช่วงที่มีอาการปวด
การประคบเย็น โดยใช้ cold pack หรือผ้าห่อน้ำแข็ง
ในช่วงที่มีการปวดจากการอักเสบของข้อเข่า
4. อุปกรณ์ช่วยพยุง (Braces, Orthotics)
อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อเข่า (Knee braces)
– ช่วยเปลี่ยนแนวแรงที่กระทำต่อข้อเข่า โดยเฉพาะผู้ป่วยรายที่ขาโก่งมากๆ
– เพิ่มความมั่นคงบริเวณข้อ
– ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบข้อ
– ช่วยลดความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุได้
ไม้เท้าช่วยเดิน (Walking aids)
ช่วยลดแรงต่อข้อเข่า เพิ่มความมั่นคง ลดอาการปวดในขณะเดินได้ ถ้าใช้อย่างเหมาะสม
ไม้เท้าข้างเดียว (Cane)
เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเพียงข้างเดียว โดยให้ถือด้านตรงข้ามกับข้างที่มีอาการปวด
ไม้เท้า 4 ขา (Walker)
เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าทั้ง 2 ข้าง และผู้สูงอายุ