5 วิธีลดเสี่ยงติดเชื้อยืดอายุข้อเข่า และข้อสะโพกเทียม

เข่า หรือ ข้อสะโพกเทียมมีอายุการใช้งานหรือไม่? . คำถามนี้เป็นคำถามยอดนิยมนึงที่หลายคนถามก่อนผ่าเข่าเทียม หรือผ่าเข่าเทียมไปแล้วคงสงสัยอยู่ ในแง่ของศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดข้อเข่าข้อสะโพกเทียมเป้าหมาย คือให้ข้อเข่าข้อสะโพกเทียมนั้นอยู่กับผู้ป่วยไปจนตลอดชีวิตของผู้ป่วยเรียกว่าผ่าครั้งเดียวแล้วจบเลย . แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ปี 2019 พบว่า 82% ของผู้ที่รับผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่ผ่านมาแล้ว 25 ปี ยังสามารถใช้ข้อเข่าได้ดีอยู่ ไม่ต้องผ่าตัดซ้ำ ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไข้ต้องมาผ่าตัดข้อเข่าเทียมซ้ำ มีสาเหตุใหญ่ๆอยู่ด้วยกัน คือ 1. การติดเชื้อของข้อเข่าเทียม (36.1%) 2. ข้อเข่าเทียมหลวม (21.9%) 3. ข้อเข่าเทียมหัก (13.7%) . จะเห็นได้ว่าสาเหตุใหญ่ข้อนึงเลยของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมซ้ำ คือ การติดเชื้อของข้อเข่าเทียม แล้วเราจะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของข้อเข่าเทียมนี้ได้อย่างไร? ครั้งนี้จะมาแนะนำการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม ว่าจะต้องทำอย่างไร มีข้อแนะนำ ดังนี้ การรักษาสุขภาพฟัน ระมัดระวังการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ควบคุมน้ำหนักตัว งดสูบบุหรี่   1. การรักษาสุขภาพฟัน การที่มีฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบ เป็นสาเหตุหนึ่งของการที่เข่าติดเชื้อได้…

การปฏิบัติตัวที่บ้านของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ในช่วง COVID-19

วันนี้ มูลนิธิศัลย์ฯสร้างข้อ ต่อชีวิต จะมาสรุปการปฏิบัติตัวที่บ้านของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่มีหลักฐานทางการวิจัยว่าสามารถช่วยลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อเข่าให้กับผู้ป่วยได้ . 1. การออกกำลังกาย (Exercise and physical activity) 2. อาหารและการลดน้ำหนัก (Diet and weight loss) 3. กายภาพบำบัด (Physical therapy) 4. อุปกรณ์ช่วยพยุง (Braces, Orthotics)   1. การออกกำลังกาย (Exercise and physical activity) แนะนำ low impact aerobic exercise ได้แก่ การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการบริหารพิสัยข้อต่อร่วมการมีแรงต้าน (โดยหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวด และมีแรงกระแทกต่อข้อเข่า) นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงบริเวณข้อเข่า และเพิ่มน้ำไขข้ออีกด้วย มีหลายหลักฐานทางงานวิจัยว่า การออกกำลังกายช่วยลดอาการปวดเข่า และช่วยให้การใช้งานข้อเข่าดีขึ้น   2. อาหารและการลดน้ำหนัก…

6 วิธีง่ายๆกับการออกกำลังกายในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

การออกกำลังกายในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ทำอย่างไรดี . หลายท่านอาจเคยสงสัย ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ แล้วท่าบริหารแบบไหนถึงจะดีต่อเข่าของเรา วันนี้หมอจึงขอมาแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะกัน . การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น หากทำถูกวิธีและใช้ท่าบริหารที่เหมาะสมจะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่าในระยะยาว จึงสามารถชะลอความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อโดยรอบข้อเข่า และป้องกัน    ภาวะข้อเข่ายึดติดอีกด้วย สำหรับท่าการออกกำลังกายในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม หมอมีเทคนิคมาแนะนำทั้งสิ้น 6 วิธี ในแต่ละวิธีนั้นมีการศึกษาทางการแพทย์แล้วว่าสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ป่วยสามารถเลือกทำได้ตามความเหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุควรมีผู้ดูแลร่วมด้วย หมอต้น – หมอแนน   1. ออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา (นั่งพื้น) (Quadriceps sets) • นั่งบนพื้นและเหยียดขาข้างที่จะออกกำลังไปข้างหน้า และให้นำผ้าขนหนูรองใต้เข่า • เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา โดยกดเข่าลงกับผ้าขนหนู จากนั้นค้างไว้แล้วนับ 1-10 • พัก 10 วินาทีต่อครั้ง แล้วทำซ้ำ 10 ครั้ง อย่างน้อยวันละ 2 ช่วงเวลา เช้าและเย็น • หากจะออกกำลังทั้ง 2 ข้าง…

ข้อควรปฏิบัติ หลังผ่าตัด (หากแพทย์เลื่อนนัดติดตามอาการ)

คุณควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในขณะที่อยู่ระหว่างการพักฟื้นหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม ในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาด เนื่องจากการระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19) การผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมอาจต้องถูกเลื่อนออกไป เพื่อให้มั่นใจว่าเรามีความพร้อมทางด้านบุคลากร และทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสนี้ พวกเราต้องใช้ชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยการหลีกเลี่ยงการพบปะกันหรืออยู่ในที่แออัด ไปโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น ในระหว่างนี้คุณสามารถทำอะไรเพื่อดูแลข้อต่อสะโพกและเข่าอันเจ็บปวดของคุณได้บ้าง? ข้อควรปฏิบัติที่บ้าน หากแพทย์เลื่อนนัดติดตามอาการหลังผ่าตัดออกไป? 1. รับประทานยาตามคำแนะนำโดยแพทย์ของคุณอย่างเคร่งครัด   2. เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อหลังการผ่าตัด ให้พัก ประคบเย็น และนอนใช้หมอนหรือผ้ารองให้ขาข้างนั้นๆให้สูงขึ้นกว่าปกติ   3. ควรออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ   4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาฟื้นตัวอย่างเต็มที่   ปรึกษาศัลยแพทย์ของคุณ เมื่อคุณมีอาการผิดปกติของข้อต่อ ดังต่อไปนี้ 1. อาการเจ็บปวดที่ไม่สามารถบรรเทาได้ ด้วยการรับประทานยาอย่างเหมาะสมแล้ว 2. มีอาการบวมและ / หรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด 3. แผลผ่าตัดมีปัญหา เช่น แผลอักเสบแดง หรือแผลมีเลือด น้ำเหลืองซึมออกมา 4. เกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บที่ส่งผลกับข้อต่อสะโพกและเข่าข้างที่ได้รับการผ่าตัด…

7 วิธีรักษาอาการปวดเข่าในช่วง (COVID-19) โดยไม่ต้องผ่าตัด

ปวดข้อเข่า เเต่ไม่อยากผ่าตัด? มีโควิด ยิ่งไม่อยากผ่าตัด . ผู้ป่วยหลายๆท่านที่มีอาการปวดเข่าเเต่ไม่มาก ปวดมาไม่นาน หรือ แพทย์ยังไม่  เเนะนำให้ผ่าตัด ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยเลือกตัดสินใจไม่ผ่าตัดมากขึ้น . วันนี้คุณหมอมีวิธีทางในการรักษาอาการปวดข้อเข่าโดยวิธีไม่ผ่าตัดมาแนะนำ . 1. การรักษาโดยการรับประทานยา กลุ่มยาปวดเช่น พาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาที่แก้ปวดได้ดี เเละมีผลข้างเคียงน้อย มักจะเป็นยาที่ใช้เป็นทางเลือกเเรกโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เริ่มปวดข้อเข่า ยาแก้อักเสบ เช่น ไอบิวพรอเฟน นาพรอกเซน ใช้ลดอาการอักเสบ ทำให้อาการปวดลดลง แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน เนื่องจากมีผลข้างเคียงต่อไต สุดท้ายคือยาเสริมน้ำในข้อเข่า ซึ่งมีทั้งเเบบเม็ดและซองชง เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต ไดอะเซอรีน แนะนำเฉพาะกลุ่มข้อเข่าเสื่อมระยะเเรก . 2. การรักษาโดยใช้ยาฉีดเข้าข้อ มีการฉีดด้วยยาสองกลุ่มใหญ่ๆคือฉีดยาแก้อักเสบหรือกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มที่มีอาการอักเสบข้อเข่ามาก มีอาการบวม ร้อน จะลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว เเละอีกกลุ่มคือยาเสริมน้ำในข้อโดยจะฉีดเข้าไปในข้อโดยตรง ซึ่งเป็นของเหลวที่มีความหนืดทำให้ข้อเข่าเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นโดยมีอาการปวดลดลง ส่วนการฉีดเกร็ดเลือดหรือ สเต็มเซลล์ ในการรักษา ณ ปัจจุบันยังมีข้อมูลสนับสนุนน้อย จึงยังไม่เป็นที่นิยมในการใช้การรักษา . 3. การลดน้ำหนัก…

การเตรียมตัวผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (COVID-19)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถทำได้หรือยัง และต้องเตรียมตัวอย่างไร? ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้หลาย              โรงพยาบาลจำเป็นต้องงดและเลื่อนนัดผ่าตัดในผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ฉุกเฉิน              มาระยะหนึ่ง รวมถึงผู้ป่วยที่แพทย์นัดผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยนะครับ หลายคนรอว่าการผ่าตัดจะกลับมาเริ่มเมื่อไหร่ และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังครับ . ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคลดน้อยลง ทำให้หลายโรงพยาบาลเริ่มทำการผ่าตัดผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้บ้างแล้วทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ขึ้นอยุ่กับความพร้อมของแต่ละโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงสมดุลการให้บริการกับจำนวนของผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด และถูกชะลอรอการรักษาสะสมตกค้างอยู่ก่อน เพื่อสงวนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ไว้มากที่สุดที่จะทำได้ ผู้ป่วยท่านได้มีนัดหรือถูกเลื่อนนัดออกไป สามารถติดต่อสอบถามโรงพยาบาลตามสิทธิ์ของท่านได้แล้วนะครับ . ก่อนผ่าตัดท่านควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ปราศจากการอักเสบติดเชื้อใด ๆ ไม่มีฟันผุ และควบคุมโรคประจำตัวได้ดี ในช่วงที่ยังมีการควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ ทีมรักษาพยาบาลและผู้ป่วย การเริ่มผ่าตัดจะยึดหลักตามแนวทางของกรมการแพทย์ว่าด้วย “แนวปฏิบัติการทำหัตถการและการผ่าตัดในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ผู้ป่วยจะต้องถูกประเมินก่อนการผ่าตัด และคัดกรองโดยการซักประวัติ อาการ และอาการแสดงดังนี้ ก่อนนัดผ่าตัดจึงจะผ่าตัดได้ครับ .  ประวัติ…

วิธีการดูแลสุขภาพข้อต่อ ระหว่างรอผ่าตัด

คุณควรปฏิบัติตัวอย่างไรในขณะที่คุณรอผ่าตัดในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาด

? เนื่องจากการระบาดของโคโรนาไวรัส (COVID-19) การผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมอาจต้องถูกเลื่อนออกไป

เพื่อให้มั่นใจว่าเรามีความพร้อมทางด้านบุคลากร และทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสนี้ พวกเราต้องใช้ชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยการหลีกเลี่ยงการพบปะกันหรืออยู่ในที่แออัด ไปโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น ในระหว่างนี้คุณสามารถทำอะไรเพื่อดูแลข้อต่อสะโพกและเข่าอันเจ็บปวดของคุณได้บ้าง?

? การผ่าตัดถูกเลื่อนออกไป? คำแนะนำในระหว่างที่คุณรอแพทย์แจ้งวันเวลาผ่าตัดใหม่

 

1. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด/อักเสบของข้อต่อ ตามคำแนะนำของแพทย์ที่ให้การรักษาคุณประจำ ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดใช้ภายนอกหรือยารับประทาน

 

2. การประคบเย็นหรือประคบร้อน บริเวณข้อต่อที่มีอาการเจ็บปวดและอักเสบก็สามารถช่วยให้คุณลดอาการเจ็บปวดลงได้

 

3. บริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังกายชนิดที่ไม่ส่งผลให้เกิดแรงกด หรือแรงกระแทกที่ข้อต่างๆมากนัก (Low-Impact Cardio Exercises) เช่น ปั่นจักรยาน ออกกำลังกายด้วยเครื่องเดินวงรี (Elliptical Trainer) เพื่อช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณคงการเคลื่อนไหวที่ดีและแข็งแรง

 

4. ลดน้ำหนัก ทุกๆ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่หายไป ส่งผลให้แรงกระทำต่อข้อต่อสะโพกและเข่าจากการใช้งานในชีวิตประจำวันน้อยลงไปถึง 3-6 กิโลกรัม เลยทีเดียว